เกี่ยวกับเรา | องค์ความรู้ | ถาม-ตอบ | ดาวน์โหลด | ข่าวสาร | แผนผังเว็บไซต์  ค้นหา    
โครงการ: สำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ ปี 2552


คำจำกัดความโครงการ: อนามัยการเจริญพันธุ์ (Reproductive Health)
ความหมาย:
        หมายถึง “ภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและจิตใจที่เป็นผลสัมฤทธิ์อันเกิดจากกระบวนการและหน้าที่ของการเจริญพันธุ์ที่สมบูรณ์ของทั้งชายและหญิง ทุกช่วงอายุของชีวิต ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข”
        ขอบเขตของอนามัยการเจริญพันธุ์ในประเทศไทย ประกอบด้วย 10 เรื่อง ดังนี้
            1. การวางแผนครอบครัว เพื่อสนับสนุนให้คนไทย มีขนาดครอบครัวที่เหมาะสมตามความต้องการหรือศักยภาพของแต่ละครอบครัว
            2. การอนามัยแม่และเด็ก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงทั้งก่อนการตั้งครรภ์  ระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด เพื่อให้แม่มีการตั้งครรภ์และการคลอดที่ปลอดภัย พร้อมทั้งมีลูกที่สมบูรณ์แข็งแรงและได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ
            3. โรคเอดส์ ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ตลอดจนควบคุมป้องกันและให้การรักษาแก่ผู้ที่เป็นโรค
            4. มะเร็งระบบสืบพันธุ์ เฝ้าระวังผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้ความรู้และให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
            5. โรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ ควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ของระบบสืบพันธุ์
            6. การแท้งและภาวะแทรกซ้อน ป้องกัน และดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการแท้งได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งจัดให้มีการแท้งที่ปลอดภัย และสามารถเข้าถึงบริการนั้นด้วย
            7. ภาวะการมีบุตรยาก ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และให้การปรึกษา ตลอดจนการให้ บริการแก่ผู้ที่มีภาวะการมีบุตรยากตั้งแต่แรก
            8. เพศศึกษา ให้ความรู้ และให้การปรึกษา ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอายุ ส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและการมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างเหมาะสม
            9. อนามัยวัยรุ่น ให้ความรู้และให้คำปรึกษา ในเรื่องเพศศึกษา บทบาทหญิงชาย การมีเพศสัมพันธ์อย่างรับผิดชอบและปลอดภัย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างเป็นมิตร และตามความต้องการของวัยรุ่น
            10. ภาวะหลังวัยเจริญพันธุ์และผู้สูงอายุ ให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตน เพื่อให้ประชากรกลุ่มนี้มีสุขภาพดี ใช้ชีวิตยืนยาว และใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์แก่สังคมและครอบครัว
ข้อแตกต่างจากคำมาตรฐาน:
-
รายการที่ 1-8 จาก 8